IMPAC-T ร่วมมือวิจัยกับมหาวิทยาลัยพะเยา โดยติดตั้งสถานีจุลอุตุนิยมวิทยา

2013-10-04_224425

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ลงนามความร่วมมือกับวิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) ในการทำวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิจัยฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่นภายใต้โครงการ Integrated Study Project on Hydro-Meteorological Prediction and Adaptation to Climate Change in Thailand (IMPAC-T) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก JICA

โดยมีเป้าหมายเพื่อติดตาม ประเมิน และตรวจสอบผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ซึ่งทีมนักวิจัยได้เห็นความสำคัญของป่าไม้ทางภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดพะเยาที่ยังอุดมสมบูรณ์ จึงได้เข้ามาสำรวจ  โดย มพ.อนุญาตให้ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อติดตั้งเสา Monitoring tower ความสูง 42 เมตร ภายใต้ชื่อ iwc replica watches Dry dipterocarp forest flux Phayao site, Thailand (DPT)  ซึ่งทำงานภายใต้โครงการ Micrometeorology Laboratory (MiLab) เพื่อตรวจวัดข้อมูลทางด้านอุตุนิยมวิทยา การแลกเปลี่ยนพลังงาน การแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 ระหว่างบรรยากาศ ซึ่งเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อ มพ.ในด้านการเรียนการสอนของนิสิต อาจารย์ นักวิจัย รวมถึงชุมชน และยังมีประโยชน์ต่อจังหวัดพะเยาในการติดตามข้อมูลข่าวสารการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ ทั้งเรื่องปริมาณน้ำฝน หมอกควัน ภัยแล้ง ในภาคเหนือได้อีกด้วย
สำหรับการทำงานของสถานีตรวจวัดจุลอุตุนิยมวิทยา แยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกชุดอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเสา Monitoring tower ความสูง 42 เมตร เป็นการตรวจวัดภูมิอากาศทั่วไป   ส่วนที่สองเกี่ยวกับดิน ทำการตรวจวัดความชื้นและอุณหภูมิในดิน ทั้งสองส่วนจะเชื่อมต่อโดยการใช้ Data logger model CR1000 for data correction ในการเก็บข้อมูล   และทำการตรวจวัดตลอด 24 iwc replica ชั่วโมง ซึ่งสามารถรายงานผลแบบ real time   สถานีตรวจวัดจุลอุตุนิยมวิทยาดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของ ดร.มนตรี แสนวังสี  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม